6.04.2555

รามเกียรติ์แอนิเมชั่น ค้วารางวัลปยุต เงากระจ่าง และ รางวัลขวัญใจมหาชน

matichon.co.th/news วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09:30:00 น

รางวัลหนังสั้น′ 15
"รามเกียรติ์" ใน "กลียุค" แห่ง "หมอก" ควัน "ภูเขาไฟพิโรธ" & ความ "เปลี่ยน" แปลง



ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับงานเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 15 โดยมูลนิธิหนังไทย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-28 สิงหาคมที่ผ่านมาโดยอีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญสำหรับงานเทศกาลประจำปีนี้ ก็คือ พิธีมอบรางวัลให้แก่ภาพยนตร์สั้นที่ถูกส่งเข้าประกวดในสาขาต่างๆในรางวัลสาขาช้างเผือกพิเศษ (สำหรับเยาวชนที่อายุไม่เกิน 18 ปี) หนังสั้นที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ "เปลี่ยน" โดย บุญจิรา พึ่งมี นักเรียนชั้น ม.6 จากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งพูดถึงประเด็นเรื่องความเปลี่ยนแปลงอย่างน่าสนใจ




รางวัลช้างเผือก (สำหรับนักศึกษา) ผลงานที่ชนะเลิศ คือ "กลียุค" โดย เอกภณ เศรษฐสุข จากคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่เสียดเย้ยชนชั้นนำ (โดยเฉพาะนักการเมือง) ผ่านประเด็น "เบื้องหน้าอันงดงาม" กับ "เบื้องหลังอันฟอนเฟะ" ได้อย่างตลกขบขันและเจ็บแสบ


รางวัลปยุต เงากระจ่าง (สำหรับภาพยนตร์แอนิเมชั่น) ผู้ชนะเลิศ ได้แก่ มือทำสต็อปโมชั่นระดับเก๋าของวงการ อย่าง อธิปัตย์ กมลเพ็ชร ผู้เคยได้รับรางวัลรองชนะเลิศสาขารัตน์ เปสตันยี ตั้งแต่ในงานเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 1 ประจำปี 2540 เมื่อ 14 ปีก่อน ที่กลับมาพร้อมแอนิเมชั่นฟอร์มยักษ์ "รามเกียรติ์แอนิเมชั่น ตอนธรรมะแห่งราชา" ซึ่งนำภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องรามเกียรติ์มาปรุงแต่งเป็นภาพเคลื่อนไหว


รางวัลดุ๊ก (สำหรับภาพยนตร์สารคดีไม่จำกัดความยาว) หนังที่ชนะเลิศ คือ "95110 เมืองในหมอก" โดย ทวีวิทย์ กิจธนสุนทร ที่เล่าเรื่องราวคนหลากหลายกลุ่มในอำเภอเบตง จังหวัดยะลา ทั้งชาวอีสานที่อพยพไปตั้งรกรากในพื้นที่ใต้สุดของประเทศตั้งแต่ปลายทศวรรษ 2510, กลุ่มวัยรุ่นไทยพุทธที่เล่นยาเสพติด รวมทั้ง สามพี่น้องเยาวชนเชื้อสายมลายูมุสลิมที่ไม่มีแม่และไม่รักแม่


รางวัลรัตน์ เปสตันยี อินเตอร์เนชั่นแนล (สำหรับหนังสั้นจากต่างประเทศ) ผลงานชนะเลิศเป็นหนังเยอรมนี-โรมาเนียชื่อว่า "ไซเลนท์ ริเวอร์" โดย อันคา มิรูนา ลาซาเรสคู


และรางวัลรัตน์ เปสตันยี (สำหรับบุคคลทั่วไป) ผู้ชนะเลิศได้แก่ ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์ ศิลปินลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น อาจารย์สอนวิชาด้านศิลปะภาพเคลื่อนไหว ที่เคยส่งผลงานเข้าประกวดมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ซึ่งครั้งนี้สามารถคว้าหนึ่งในรางวัลสูงสุดของเทศกาล จากหนังสั้นแนวทดลองอันทรงพลังและท้าทายต่อการครุ่นคิดตีความเรื่อง "ภูเขาไฟพิโรธ"


 

เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากจะมีนักทำหนังสั้นหน้าใหม่ส่งผลงานเข้ามาประกวดและได้รับรางวัลไปครอบ ครองแล้ว ในงานเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 15 ยังมีนักทำหนังรุ่นเก่าอีกหลายรายที่หวนกลับมาส่งหนังสั้นเข้าประกวดอีก ครั้งหนึ่ง และสามารถเอาชนะใจคณะกรรมการคว้ารางวัลไปได้ ซึ่งนอกจากรายของอธิปัตย์และไทกิแล้ว ยังมีปราโมทย์ แสงศร ที่เคยได้รับรางวัลประกาศนียบัตรชมเชยสาขารัตน์ เปสตันยี เมื่อเทศกาลครั้งที่ 5 ประจำปี 2544 ก่อนที่จะได้รับรางวัลรองชนะเลิศในสาขาเดียวกัน ประจำปีนี้ จาก อีกหนึ่งหนังสั้นที่สร้างข้อถกเถียงให้แก่ผู้ชมอย่างมากมายเรื่อง "The Island of Utopias"
ผลรางวัลเทศกาลภาพยนตร์สั้นครั้งที่ 15 โดยละเอียด
รางวัลรัตน์ เปสตันยี
*ชนะเลิศ "ภูเขาไฟพิโรธ" โดย ไทกิ ศักดิ์พิสิษฐ์
*รองชนะเลิศ "ชินดะ ไกจิน (ต่างด้าวเท่งทึง)" โดย ก้อง พาหุรักษ์, "เราจะข้ามเวลามาพบกัน" โดย เอกลักษณ์ มาลีทิพย์วรรณ และ "The Island of Utopias" โดย ปราโมทย์ แสงศร
*ประกาศนียบัตรชมเชย "Erotic Fragment No. 1, 2, 3" โดย อนุชา บุญยวรรธนะ, "คล้าย" โดย ตุลพบ แสนเจริญ และ "มิสสิส นวล ฮู แคน รีคอล เฮอร์ พาสต์ ไลฟ์" โดย จุฬญาณนนท์ ศิริผล

รางวัลรัตน์ เปสตันยี (อินเตอร์เนชั่นแนล)
ชนะเลิศ "ไซเลนท์ ริเวอร์" โดย อันคา มิรูนา ลาซาเรสคู (เยอรมนี-โรมาเนีย)
ประกาศนียบัตรชมเชย "โอเพ่น ดอร์ส" โดย อาชิช ปานเดย์ (อินเดีย) และ "แมชชีน แมน" โดย อังฟองโซ่ โมราล และ โรเซอร์ คอเรลลา (สเปน)

รางวัลช้างเผือก
*ชนะเลิศ "กลียุค" โดย เอกภณ เศรษฐสุข คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
*รองชนะเลิศ "ไตรภูมิคาถา" โดย ภัทธิ บัณฑุวนิช สาขาออกแบบมัลติมีเดีย วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ "สุขขา 3" โดย กรนันท์ ชื่นพินชัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ (วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพ)
*ประกาศนียบัตรชมเชย "นอกหน้าต่าง" โดย ภิชณัฐ สุขทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, "ณ.บ. (N.B.)" โดย ณัฐพันธุ์ บุญเลิศ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชานิเทศศิลป์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง และ "Swimming Pool" โดย พวงสร้อย อักษรสว่าง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รางวัลช้างเผือกพิเศษ

*ชนะเลิศ "เปลี่ยน" โดย บุญจิรา พึ่งมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง
*รองชนะเลิศ "House" โดย เศรษฐสิริ ชาญจรัสพงศ์ จบการศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และ "Pedigree" โดย ราชพฤกษ์ ติยะจามร จบการศึกษาจากโรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย
*ประกาศนีบัตรชมเชย "Lesbian Fantasy"  โดย ธีรัช หวังวิศาล ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี และ "แก้วหน้าม้า" โดย ณรงค์ชัย นาคศรีจันทร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดทรงธรรม

รางวัลดุ๊ก
*ชนะเลิศ "95110 เมืองในหมอก" โดย ทวีวิทย์ กิจธนสุนทร
*รองชนะเลิศ "บ้านเราอยู่ห้วยดินดำ" โดย พิสุทธิ์ ศรีหมอก และ "ประวัติศาสตร์ขนาดย่อของความทรงจำ" โดย จุฬญาณนนท์ ศิริผล

รางวัลปยุต เงากระจ่าง
*ชนะเลิศ "รามเกียรติ์แอนิเมชั่น ตอนธรรมะแห่งราชา" โดย อธิปัตย์ กมลเพ็ชร
*รองชนะเลิศ "หยุด" โดย ธวัชพงศ์ ตั้งสัจจะพจน์ และ "ปุปะ" โดย ไกรสิทธิ์ โภคสวัสดิ์
*ประกาศนียบัตรชมเชย "Be with you japan" โดย ชลวิทย์ ชูโต, "หลังฟ้าหม่น" โดย ภัทรมน เอื้อวาณิชชา, "หมากพร้าว" โดย สริดา เผ่าอรุณ และ "ความเป็นจริง บน จินตนาการ" โดย นลัท จิรวีรกูล


รางวัลวิจิตรมาตรา 
(สำหรับภาพยนตร์ที่คณะกรรมการจัดงานเห็นว่ามีความดีเด่นเป็นพิเศษในด้านใดด้านหนึ่ง)
"ทาง-ไหน" โดย ชลสิทธิ์ อุปนิกขิต และ รษิกา ประสงค์ธรรม
"เพิ่งกลับจากดินแดนเวทมนตร์อันไกลแสนไกล" โดย ภาส พัฒนกำจร
"คล้าย" โดย ตุลพบ แสนเจริญ
และ "Swimming Pool" โดย พวงสร้อย อักษรสว่าง

รางวัลพิราบขาว 
(สำหรับภาพยนตร์สั้นไทยที่สะท้อนประเด็นสิทธิเสรีภาพ และความเท่าเทียมเป็นธรรมทางสังคม และกระตุ้นจิตสำนึกเพื่อสาธารณะ)
"คนสามรุ่น ครุ่นคิด อะไรฤา" โดย ภาณุ แสง-ชูโต และ ขวัญแก้ว เกตุผล

รางวัลโกดัก ฟิล์มสคูล คอมเพททิชั่น 
(รางวัลด้านการถ่ายภาพ สำหรับภาพยนตร์ของนักศึกษาที่ถ่ายทำด้วยฟิล์มโกดัก)
"นอกหน้าต่าง" โดย ภิชณัฐ สุขทร คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

รางวัลนักแสดงยอดเยี่ยม
"ชลภัสสร คหกาญจน์ธรา" จากเรื่อง "เพิ่งกลับจากดินแดนเวทมนตร์อันไกลแสนไกล"

รางวัลขวัญใจมหาชน 
"รามเกียรติ์แอนิเมชั่น ตอนธรรมะแห่งราชา" โดย อธิปัตย์ กมลเพ็ชร

6.01.2555

รามเกียรติ์ แอนิเมชั่น • เรื่องเก่าเล่าสู่คนรุ่นใหม่


รามเกียรติ์ แอนิเมชั่น เรื่องเก่าเล่าสู่คนรุ่นใหม่
โดย ดาวเอื้อมฟ้า
(นิตยสารสีสัน ปีที่22 ฉบับที่ 2 ปี 2553)




แม้จะไม่ใช่แอนิเมชั่นเรื่องแรกของไทย แต่เป็นเรื่องแรกที่นำภาพจิตรกรรมฝาผนังรามเกียรติ์Ž ที่รายรอบพระอุโบสถใน วัดพระศรีรัตนาศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ทำเป็นภาพเคลื่อนไหว...แลดูน่าตื่นตาตื่นใจประสมประสานความเป็นไทยโบราณกับเท็คโนโลยีสมัยใหม่ได้เหมาะเจาะ
เริ่มต้นจากโครงการที่มีจุดประสงค์เชิงการศึกษา....ในแบอินเตอร์แอ็คทีฟ หากมีอันต้องพับไปเนื่องจากพิษเศรษฐกิจ (ปนการเมือง) ซึ่งเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อย-หากสิ่งที่ค้นหา ศึกษา และลงมือปฏิบัติไป มากŽ แล้ว คณะผู้จัดทำที่มี อธิปัตย์ กมลเพ็ชร แห่ง อะมีบ้า ฟิล์ม เป็นหัวเรือใหญ่ในฐานะผู้กำกับ จึงขออนุญาตเจ้าของโครงการเดิม นำมาแปลงกายเป็นภาพยนตร์แอนิเมชั่นสองมิติความยาวประมาณสามสิบนาทีเรื่อง รามเกียรติ์Ž  


   





ออกฉายรอบพิเศษไปที่โรงภาพยนตร์และทางช่อง 9 โมเดิร์นไนน์ เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ปฏิกิริยาตอบรับของผู้ชม...เป็นที่น่าพึงพอใจอย่างยิ่ง นั่นเป็นข่าวดีสำหรับคนทำงาน แต่ข่าวร้ายที่ซ่อนอยู่ในข่าวดี-ที่คนไม่ค่อยรู้-ก็คือแม้จะมีข้อมูลและวัตถุดิบพร้อม หากสิ่งจำเป็นที่เรียกว่าเงินทุนŽนั้นกลับหาได้ยากยิ่ง ทุกอย่าง...จึงมีสภาพเหมือนถูกแช่แข็งไปโดยปริยาย ทว่า คนทำยังมีความหวัง และมุ่งมั่นแรงกล้าที่จะสานฝันให้เป็นจริง ทำรามเกียรติ์Žแอนิเมชั่น จบสมบูรณ์แบบ เย็นวันหนึ่ง...วงสนทนาที่ประกอบด้วยสีสันŽและ อธิปัตย์-ดลยา กมลเพ็ชร ในห้องทำงานบนชั้นสองของ อะมีบ้า ฟิล์ม ตั้งต้นกันที่หลักกิโลฯแรกของรามเกียรติ์ แอนิเมชั่นŽจนถึงปัญหาที่เผชิญอยู่....


โจทย์ของเราคืออยากจะเล่าเรื่องสู่คนรุ่นใหม่ เพราะฉะนั้นโจทย์ต่อมาคือกระชับ สนุกสนาน และเนื้อหาต้องถูกต้อง คือกลับเข้าไปอิงบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ 1 เป็นตัวตั้ง และเอาภาพที่เป็นออริจินัล ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดพระแก้ว ผมเลยขอภาพจากโครงการเดิมมาทำเป็นหนัง เลยเขียนบทออกมาเป็นสี่ภาค ซึ่ง ตรงนั้น เราต้องการจะฉายให้ทันวันจักรี เพราะปีนี้เป็นปีที่ครบ 19 รอบกรุงเทพฯ ก็คือ 228 ปี ซึ่งเป็นจักรีใหญ่ แล้วเรื่องของ รามเกียรติ์Ž ก็เป็นเรื่องที่พูดถึง...ถ้าแปลความก็คือ เกียรติแห่ง ราม จะโยงเข้ามาที่ราชวงศ์จักรี โครงการก็ดูอลังการยิ่งใหญ่ แต่เจอพิษเศรษฐกิจก็...  แล้วเราทำมาเสร็จประมาณหนึ่งตอนแล้ว โครงการนั้นทำไม่ได้ ก็เอาแค่หนึ่งตอนนี่แหละฉายในวันที่ 12 สิงหา ซึ่งจะโยงได้ เพราะพระราชินีท่านมีพระเสาวณีย์เรื่องโขน เรื่องรามเกียรติ์Žอยู่แล้ว ไหนๆทำแล้วก็หาที่ฉาย เป็นการคิคออฟให้คนเห็นว่าเราสามารถที่จะเล่าเรื่องยาวๆให้กระชับได้ ถ้ามีใครคิดว่าจะทำต่อเนื่องได้ เราก็จะทำอย่างนี้ต่อไปอีกสามตอนŽ" ตามคำบอกเล่าของ อธิปัตย์ จากการตีความภาพรวมว่า เกียรติแห่ง รามŽ  เขาจึงแบ่ง รามเกียรติ์Ž ฉบับแอนิเมชั่น ออกเป็นสี่ตอน "ตอนแรก....เหมือนกับหนังหน่อยฮะ ต้องบอกถึงที่มาที่ไปของตัวละครแล้วก็ความขัดแย้งมันคืออะไร ใส่คาแร็คเตอร์ว่าทำไม พระราม ถึงเป็นผู้ที่มีเกียรติ เขียนเป็นนัยของการเทิดพระเกียรติแหละ จริงๆ ถ้ามองภาพรวมของ รามเกียรติ์Ž ก็คือ พระราม เป็นผู้ครองธรรม ตอนแรกเราก็เลยใช้คอนเส็ปท์นี้ผู้ครองธรรมŽ ตอนที่สองเป็น ผู้ลุ่มหลงŽ จะเป็นเรื่องของ ทศกัณฑ์ ลุ่มหลง นางสีดา, หนุมาน ลุ่มหลงอำนาจของตนเอง และตอนที่สามก็จะเป็นตอน ผู้ค้นหาŽ คือเป็นการบุกลงกาเพื่อค้นหา นางสีดา แล้วเกิดการผลาญราพณาสูร ตอนสุดท้ายเป็นตอน ผู้ค้นพบŽ ก็เหมือนเป็นการกลับมาคืนสู่เกียรติของ พระราม ก็คือได้ นางสีดา กลับมา และปราบ ทศกัณฑ์ ได้ บำบัดทุกข์ให้โลก อะไรอย่างนี้Ž" เพราะ บทŽ เป็นหัวใจ เขาและทีมงานจึงให้ความสำคัญ การค้นหาศึกษาเพื่อให้ ถูกต้องŽ ตามบทพระราชนิพนธ์เดิม หากโจทย์ คนรุ่นใหม่Ž ก็เป็นเงื่อนไขจำเป็น บทสำคัญที่สุด...อย่างแรง ใช้เวลานานสุด เพราะถ้าผิดก็โดนด่า ความถูกต้องต้องมาก่อนอันดับหนึ่ง เพียงแต่ว่าความครบถ้วนต้องตัด ต้องทำใจŽ เขาว่า คนเขียนบทอย่าง อภิชย์ บุศยศิริ-ที่มีใบปริญญาทางการเขียนบทโดยเฉพาะมาจากออสเตรเลีย-เลยต้องรับบทหนัก เขาเคยเขียนบทพวกงานการ์ตูนซีรี่ส์มาก่อนอยู่แล้ว ก็จะทำให้...ถึงแม้ว่าเรื่องรามเกียรติ์Ž) จะมีอะไรมากมาย แต่มันก็อยู่ในเรื่องของคนนี่แหละ มีความโลภความโกรธอะไรก็ว่าไป เขาก็เอาเรื่องมาร้อยเรียงกัน ให้กระชับขึ้น เราก็บอกว่าเราอยากให้ภาษาแบบจักรๆ วงศ์ๆ นิดนึงนะ แต่ก็ต้องให้คนรุ่นใหม่เข้าใจง่าย มันต้องมีกลิ่นอายเป็นไทย สง่างาม



ก็มีร้อยกรองใส่เข้าไปด้วย ในเรื่องจะมีตอนที่ พระทศรถ สอน พระราม ในการขึ้นครองราชย์ เหมือนทศพิธราชธรรม แต่เป็นบทพระราชนิพนธ์ร้อยกรอง และเปรียบเทียบเหมือนดั่งต้นไม้ที่แตกกิ่งก้านสาขา สัตว์น้อยใหญ่มาอาศัย ผมก็สร้างภาพขึ้นมา จริงๆไม่มีที่วัดพระแก้วหรอก เป็นภาพลายรดน้ำ ซึ่งก็มีทีมที่เขาเขียนขึ้นมาใหม่ แล้วก็ดีไซน์ให้ต้นไม้ต้นนี้เหมือนเป็นไตรภูมิ ดูแลทั้งสามภพ ก็ตามบทพระราชนิพนธ์แล้วตีความเอา เป็นบทพากย์มากกว่า ไม่ได้เป็นบทร้อง แล้วค่อยกลับมาเล่าเรื่องต่อŽ ส่วนด้านภาพ-ที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง วัดพระแก้ว เป็นคลังภาพขนาดใหญ่ เขาเล่าให้ฟังว่าการเข้าไปถ่ายภาพครั้งนี้ เอิกเกริกมากŽ...  ถ่ายกันหกเดือนได้ มีสองแบบนะครับ หนึ่งห้องภาพ เราถ่ายยี่สิบครั้ง เป็น grid แล้วเอามาต่อ จะเป็นภาพใหญ่มากเท่าของจริงเลย อีกวิธีหนึ่งก็คือ เนื่องจากเราทำเป็นแอนิเมชั่น มันต้องมีโคลสอัพอะไรอย่างนี้ ก็ต้องถ่ายทุกตัวละครใหม่ เป็นหมื่นๆตัว ถ่ายเต็มตัว ถ่ายโคลสอัพหน้า อะไรอย่างนี้ เหมือนเราแคสติ้งตัวละครที่สวยๆ หล่อๆ ฉากตรงไหนที่สวย ต้นไม้ที่เขาเขียนตรงไหนสวย เราก็ดึงเป็น element ไว้ เสร็จแล้วก็มาดูว่าบทตอนไหน เราต้องใช้ภาพช่วงไหน จริงๆ ภาพที่ วัดพระแก้ว ก็เป็นคีย์วิฌ่วลอยู่แล้ว เพียงแต่ภาพบางภาพอาจจะไม่สมบูรณ์ เราก็ต้องเพิ่มเติม...วางลงบนองค์ประกอบเดิมนะ เพี่อให้ภาพมันมีความกริบมากขึ้น เพราะเราดูจอใหญ่ แต่ก็ยังอยากรักษาเสน่ห์ของเดิมไว้ คือต้องมีความรู้สึกโบราณน่ะ แตกลายงา ให้รู้สึกว่ามันมีที่มาจากวัดŽ


จากนั้น...จำนวนภาพถ่ายที่พะเนินเทินทึกอยู่ในฮาร์ดดิสค์ก็ถูกนำมาตัดแต่ง-ประกอบร่างให้เคลื่อนไหวโดยทีมแอนิเมชั่น 7 ทีมด้วยกัน ในความยาว-ที่ต้องการ- 30 นาที แบ่งซอยแยกย่อยกันไปตามขนาดของกลุ่มและความเชี่ยวชาญ ทีมนี้เล็กหน่อยก็สามนาที ทีมนี้ใหญ่หน่อยก็สิบนาทีŽ เขาว่า โจทย์สำคัญอยู่ที่ว่าเราต้องทำสตอรี่บอร์ดก่อน แล้วก็ทำแอนิเมติค คือทำบอร์ดให้มีเสียงมีอะไรที่ล็อคไทมิ่ง มันก็ถูกเล่าเรื่องเคลียร์แล้วล่ะว่าเขาจะต้องทำอะไร ในช่วงไหน การประชุมก็เชิญมาทั้งหมดนะ ดูแอนิเมติคพร้อมกัน แล้วก็แบ่งตอนกันไป แต่ละทีมก็จะทำ...นอกจากเป็นสตอรี่บอร์ดแล้วก็ต้องไปทำให้ภาพนั้นมันเป็นเลย์เอ๊าท์จริง อย่างที่ผมบอกแหละ เขาก็ต้องได-คัทไปวางทีละจุด วางดอกไม้ใหม่ วางอาคารใหม่ ตัวละครใหม่ที่ดูดีกว่าตัวเดิม อะไรอย่างนี้ 




แต่ละทีมต้องทำเลย์เอ๊าท์มาส่งเราก่อน ว่าตรงกับที่เราอยากได้หรือเปล่า แล้วก็มาคุยเรื่องของการกำกับท่าทาง ตอนส่งงานก็ส่งพร้อมกัน ก็ได้เห็นของคนอื่น ได้เรียนรู้และพัฒนาจากงานของกันและกัน เราก็ให้โอกาสเขาในการตีความ ก็เหมือนเขาเป็นนักแสดงคนหนึ่ง ให้เขานำเสนอและดูความเหมาะสมŽ เว้นวรรคจังหวะความคิดแล้วจึงว่า โจทย์ที่เราตั้งก็คือ...เราอยากเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเคลื่อนไหวได้ เพียงแต่ว่าตอนต้นนี่เราต้องทำให้คนเชื่อก่อนว่ามันเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง แต่ต่อจากนั้นไป มันจะมี depth มากขึ้นๆ ถ้าได้ดูตอนท้ายๆจะเห็นว่ามันพัฒนาไปแบบ...มีความมืด กลางคืน กลางวัน มีอะไรล่ะ หิ่งห้อยบิน อันนี้เพิ่มเข้ามา แต่ตอนแรกนี่อยากให้เขารู้ว่าเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนัง ที่ทุกคนต้องยึดไว้คือ ต้องทำให้เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังนะ สุดท้ายเราก็ค่อยมาคอร์เร็คท์สีในโพสต์ โปรดั๊คชั่น อีกทีหนึ่ง คือทุกคนทำจากภาพออริจินัล เกลี่ยให้เหมือนของเดิมมากที่สุด แล้วเราค่อยมาจัดสี ค่อยมาทำคอนทราสต์ของซีนต่อซีนไม่ให้กระโดดŽ นอกจากภาพเดิมที่มีอยู่ มีการเขียนภาพใหม่ประกอบกันด้วย ทั้งนี้เป็นเพราะบางตัวละคร-ไม่มีภาพที่ต้องการ อาทิ อย่างบางตัว ในภาพจิตกรรมวัดพระแก้วมีแค่ครึ่งหน้า นั่งอยู่หลังประตูอย่างนี้ อย่าง นางไกยเกษี ที่เป็นคนมาขอให้ พระพรต ขึ้นครองราชย์ จริงๆแล้วเห็นแค่ครึ่งหน้า ก็เลยให้ทีมที่เขาซ่อมภาพพวกนี้ที่วัดพระแก้วอยู่แล้วเป็นคนเขียนให้ใหม่ เต็มตัวนะ แล้วเราค่อยมาใส่เท็กซ์เจอร์ความเก่าทีหลังให้มันกลืนกันŽ อธิปัตย์ บอกต่อไปว่า รามเกียรติ์ แอนิเมชั่นŽ ฉบับนี้ เป็นŽcut-out animationŽ จากวิธี-เท็คนิคการทำภาพให้เคลื่อนไหวได้ด้วยการไดคัทส่วนต่างของตัวละคร ก่อนนำไปประกอบใหม่ Žเหมือนกระดูก...แล้วเอามาต่อ ใช้เคลื่อนไหวเหมือนหุ่นชักŽ เทียบกับงานแอนิเมชั่นที่มีอยู่ในปัจจุบันแล้ว มันก็จะต่างกันในแง่ของ.... รามเกียรติ์Ž ในแง่ที่ว่ายาก ไม่ใช่ยาก มันเยอะ ก็คือการไดคัท เพราะแต่ละตัวคนก็ต้องมีด้านหน้าด้านข้าง แต่ละฉากก็ต้องมีองค์ประกอบไม่เหมือนกันอีก ก็คือแทบจะต้องทำใหม่เกือบจะทุกซีน ทุกทีมงานก็ต้องมีการไดคัทกองพะเนินเทินทึก จะเยอะๆในแง่นั้น 





แต่ในแง่การแอนิเมชั่น โจทย์ของเราก็คือว่าเราต้องการเล่าเรื่องนะ แล้วก็ต้องดูสง่างาม คือเราไม่ได้ต้องดูหวือหวา ต้องตลกแบบ ดิสนี่ย์ หรือไม่ได้แช่ๆ นิ่งๆ แบบญี่ปุ่น เราต้องการที่ดูมีสไตล์เป็นไทย ก็ต้องมีท่านิดนึง แต่ว่าต้องเล่าเรื่อง ไม่ใช่ว่ามารำ ก็ต้องมีการตีความท่าทางนั้นๆ แล้วก็...แต่สิ่งหนึ่งที่เราได้จากทีมที่ทำงานแอนิเมชั่นที่เป็นโปรเฟสชั่นนัลก็คือมันมีน้ำหนัก อย่างเช่นการวิ่ง การกระโดด มันดูเชื่อถือได้ว่ามันมีน้ำหนักจริง คือไม่ใช่ย้อกแย้กๆกันไปเรื่อย มันก็เลยดูเป็นจริงŽ แล้วจึงเติม เสียงŽ เข้าไปประกอบให้สมบูรณ์ ทั้งเสียงตัวละคร เสียงเล่าเรื่อง (สอง เสียงŽ นี้กอปรด้วยคนดัง-คนธรรมดา) และดนตรี เสียงŽ สุดท้ายนี้ใช้บริการ จิงเกิลเบลล์ ที่ออกมาในทางสกอร์แบบเดียวกับภาพยนตร์ทั่วไป แล้วค่อยมาใส่อินสทรูเมนท์หรือว่าเมโลดี้ที่มันเป็นไทยเข้าไป คือยังไงก็ต้องมีไทยประกบ เพียงแต่ว่า...ต้องได้อารมณ์นั้นก่อน เราไม่ได้ทำเพลงไทยให้มันง่วง มันต้องเข้าไปกับภาพ ต้องตื่นเต้น บทรักก็ต้องหวาน อะไรอย่างนี้ ซึ่งคนทำเพลงก็เป็นคนทำโฆษณา เพราะฉะนั้นเขาจะฉับไว เปลี่ยนจากเศร้ามาเป็นสนุกสนานได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปติดโครงสร้างของเพลงไทยเดิม เพราะหนังโฆษณาจะเอาเป้าหมายอย่างเดียวŽ เขาหัวเราะเบาๆแล้วว่า วิธีการเล่าเรื่องก็เหมือนกัน คือให้มันเข้าเป้าของแต่ละเรื่อง จะเห็นได้ว่ามันไม่ใช่หนังเสียทีเดียว มันจะกึ่งๆ...เหมือนกับเข้าประเด็นๆๆๆ แล้วก็ไม่ค่อยทิ้งอารมณ์เท่าไหร่ เพราะเราต้องการย่นเรื่องแล้วก็ทันใจ ดูแล้วเข้าใจทันที ทั้งภาพและเสียงด้วย ถ้าเกิดหลับตาก็ฟังรู้เรื่อง หรือถ้าดูภาพ...หมายถึงว่าคนหูหนวกดูภาพก็ดูรู้เรื่อง อย่างเด็กก็จะเก็บได้หมด อ๋อ ชิวหา มันคือแบบนี้ แลบลิ้นใหญ่ เพื่อรักษาคุณค่า ผมคิดว่าถ้าเกิดเล่าแบบหนัง มันอาจจะเตลิดเปิดเปิง ได้แต่ความสนุกเท่านั้นŽ



     
สามปี-ตั้งแต่โปรเจ็คท์แรก หกเดือน-หลังจากตัดสินใจทำโปรเจ็คท์สอง ความตั้งใจของทีมงานทั้งสิ้นกว่าร้อยชีวิต รวมถึงคนเบื้องหลัง-ผู้มีความรู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ไม่ว่าจะเป็นบทประพันธ์ ภาพเขียน และครูนาฏศิลป์...ที่มาแสดงท่าทางการร่ายรำในเชิงโขนที่ถูกต้อง เพื่อให้ทุกอย่างออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด-เท่าที่จะทำได้ อธิปัตย์ ยอมรับว่า ผมว่ามันน่าจะยาวกว่านี้อีกสักสิบนาทีหรือว่าห้านาทีก็น่าจะโอเค.นะ นี่มันเข้มข้นไปนิดนึงน่ะ แต่ถ้าเกิดคนไม่ได้อะไร จะรู้สึกว่าเข้าใจเรื่องได้รวดเร็ว ได้หมดดี ไม่หลับ ไม่ง่วงŽ ปฏิกิริยาตอบรับจากคนดูเป็นอย่างไรบ้างŽ-สีสันŽ อยากรู้สำหรับผู้ใหญ่ดีมาก เพราะเขารู้แบ็คกราวน์ดอยู่แล้ว แต่ก็มีเสียงตำหนิอยู่บ้างเรื่องการร้องเพลงไทยเดิม แล้วก็จังหวะการใส่เสียงดนตรีเข้าไปประกอบ และสะกดคำผิดใช้คำผิดอยู่บ้างŽ เขาตอบ สำหรับเด็ก เขาได้เห็น ได้เข้าใจเนื้อเรื่อง เพราะเขาไม่สามารถอ่านยาวๆอย่างนื้ ก็เข้าใจเนื้อเรื่องโดยกระชับได้ สนุกไปกับมันได้ ในแง่ที่จริงๆ มันมีเนื้อหาที่สนุกนะ แล้วผมก็ให้มันมีความหวือหวาสในแบบอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เข้าไปด้วย เพราะฉะนั้น...คือด้วยเด็กที่ลงไปในระดับประถม สิบขวบอะไรอย่างนี้นะ...ชอบ เมื่อไหร่จะได้ดูอีกŽ หนุ่มใหญ่หัวเราะเบาๆเหมือนมีนัย...อย่างที่เกริ่นไว้ตอนต้นว่าตอนนี้ พวกเขามีปัญหา-ปัญหาที่เรื่องเงินทุนที่จะมาสนับสนุนให้ รามเกียรติ์ แอนิเมชั่นŽ เดินไปจนจบครบสี่ตอน...อย่างที่ตั้งใจไว้ ต้องได้ทำŽ ดลยา ว่าบ้างพลางหัวเราะ แต่มันจะเสร็จเมื่อไหร่...เท่านั้นเองŽ ก็ยังคุยกับ พี่อุ๋ย (นนทรีย์ นิมิตบุตร) เลยว่าถ้าเราพัฒนาอีกสักหน่อย จะทำเป็นหนังฉายได้มั้ยŽ กลับไปที่ อธิปัตย์ อีกครั้ง ทุนมันไม่ได้สูงมากนี่ ก็เอาทั้งสี่ตอนที่เราคิดไว้มารวมกัน อาจจะเหลือสัก 100 นาที อะไรอย่างนี้ ไม่เหนื่อยมากŽ ตอนนี้...ก็ได้รอให้มีผู้ใหญ่ใจดี ได้เห็นความตั้งใจของทีมงาน มองเห็นคุณค่าของ รามเกียรติ์ แอนิเมชั่นŽ ที่สามารถต่อยอดความคิด และสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมไทย-ซึ่งนับวันจะสูญหายไปจากครรลองการรับรู้ของคนรุ่นใหม่และหวังอย่างยิ่งว่า...จะได้เห็นภาพจิตกรรมฝาผนังที่วัดพระแก้วเรื่อง รามเกียรติ์Ž ได้ขยับเคลื่อนไหวน่าชมจนจบสมบูรณ์บนจออีกครั้ง  และคราวนี้ ได้เผยแพร่ทั่วประเทศจริงๆเสียที